วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สุขศึกษาและพลศึกษา 10 ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครอง การใช้และการจำหน่ายสารเสพติด

ผลกระทบของปัญหายาเสพติด

ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย” ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9. 2545 : 12 – 14)
ผลกระทบต่อตัวบุคคล 
๑. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ ๕๐ นอกจากนี้ตัวยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบ ต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ 
๒. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทาง การเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ 
๓. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิด อุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม 
๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา 
๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ 
๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ 
๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจาก โรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ 
๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และการคุมประพฤติ นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า 
๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม 
๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา 
๒. ปัญหา ยาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ 
๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ 
๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อ ถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติด

ยาเสพติด สามารถแบ่งได้ ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้
ก. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ได้แก่ 
1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา 
2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน
แอมเฟตามีน 
ข. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้แก่ 
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน (Heroin) แอมเฟตามีน
(Amphetamine) เมทแอมเฟตามีน (Metham Phetamine) แอลเอสดี (LSD) เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) หรือ
MDAM 
ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine) โคเคนหรือโคคาอีนเมทาโดน (Methadone) 
ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนผสมอยู่
ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อะเซติคแอนไฮโดรด์
(Aceticanhydride) อะเซติลคลอไรด์ (Acetycholride) เอทิลีดีนไดอาเซเตด (Ethy-lidinediacetate) 
ไลเซอร์จิค อาซิค (Lysergic Acid) 
ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น
(ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น พืชเห็ดขี้ควาย) 

ค. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่ 
1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย 
2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน 
3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย 
4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน (กด กระตุ้น และหลอนประสาทร่วมกัน) เช่น กัญชา 

ง. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก 
องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งยาเสพติดออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 
1. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพธิดีน 
2. ประเภทบาบิทูเรทรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีไฮด์
เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ 
3. ประเภทแอลกอฮอร์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ 
4. ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน 
5. ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคคา 
6. ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา 
7. ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม 
8. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็นเมาบางชนิด 
9. ประเภทอื่นๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิล น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่ 

ชนิดของยาเสพติด


เฮโรอีน (Heroin) : 
เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซ-
ติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตท
(Ethylidinediacetate) เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ
30-90 เท่า โดยทั่วไปเฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น และแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
เช่นเดียวกับมอร์ฟีน ได้แก่ เฮโรอีนเบส (Heroin base) ซึ่งมีคุณลักษณะเด่น คือ ไม่ละลายน้ำ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง
คือ เกลือของเฮโรอีน (Heroin salt) เช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ (Heroin hydrochloride) เฮโรอีนที่แพร่ระบาด
่ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 

1. เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่น
เข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ กาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน 
สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ด หรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย 
จึงเรียกว่า "ไอระเหย" หรือ "แคป"

2. เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา
หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จัดทั่วไปว่า "ผงขาว"
มักเสพโดยนำมาละลายน้ำและฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกายอย่างรุนแรง
มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง มีอาการจุกแน่นในอก 
คล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนัก หมดเรี่ยวแรงมีอาการหนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัดทุรุนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
บางรายมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง ใจคอหงุดหงิดฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก ประสาทเสื่อม 
ความจำเสื่อม ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกันหรือ
ในบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน โดยไม่ได้ป้องกัน

โทษทางกฎหมาย : 
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ยาบ้า (Amphetamine) : 
ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) ยาบ้า จัดอยู่
ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 
มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล
สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลืองและสีเขียว มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว, 
รูปพระจันทร์เสี้ยว, 99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านหนึ่ง
หรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้ ฤทธิ์ในทางเสพติด :

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย
ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมด
ฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ
ิเป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบ
การหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้ 

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) : 
ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี ลักษณะ
ของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน 
เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 ซม. หนา 0.3-0.4 ซม. ผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย, 
ค้างคาว, นก, ดวงอาทิตย์, PT ฯลฯ เสพโดยการรับประทานเป็นเม็ด จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยา
จะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ซม. แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน ออกฤทธิ์ใน 2 ลักษณะ คือ
ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในระยะสั้น ๆ หลังจากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ฤทธิ์ของยาจะทำให้
ผู้เสพรู้สึกร้อน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง การได้ยินเสียง และการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจาก
ความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ อันเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่พฤติกรรมเสื่อมเสียต่าง ๆ 

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา
ทางร่างกาย เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด 
(Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุม
อารมณ์ไม่ได้ 

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522


แอลเอสดี (LSD : Lysergic acid diethylamide) : 
แอลเอสดี เป็นสารสกัดจากกรดไลเซอจิกที่มีในเชื้อราชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผง ละลายน้ำได้ 
อาจพบแอลเอสดีเป็นเม็ดยา แคปซูล หรือผสมในทอฟฟี่ ที่พบว่าแพร่ระบาดมาก มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษชุบ
หรือเคลือบสารแอลเอสดี และปรุแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลักษณะเดียวกับแสตมป์ โดยบนแผ่นกระดาษที่เคลือบสาร
แอลเอสดีนั้น จะมีสัญลักษณ์หรือรูปภาพต่าง ๆ 

วิธีการเสพ :
การเสพอาจทำได้หลายวิธี เช่น การฉีด หรือการนำกระดาษที่เคลือบแอลเอสดีอยู่มาเคี้ยว หรืออม หรือวางไว้บนลิ้น 

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ไม่มีอาการเสพติดทางร่างกาย มีอาการเสพติดทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา
ทางร่างกาย เคลิบเคลิ้ม ฝันเฟื่อง ความดันโลหิตสูง อุณหภูมิในร่างการสูง หายใจไม่สม่ำเสมอ ฤทธิ์ของยา
จะทำให้ผู้เสพเห็นภาพลวงตา หูแว่ว เพ้อฝัน คิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือคิดว่าเหาะได้ อาจมีอาการทางจิตประสาท
อย่างรุนแรง มีอาการหวาดระแวง เกิดอาการกลัวภาพหลอน (Bad Trip) จึงต้องหนีจากความหวาดกลัว เช่น
การขับรถหนีหรือเหาะหนี หรือฆ่าตัวตายเพราะความหวาดกลัว 

โทษทางกฎหมาย :
เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

โคเคน (Cocaine) : 
โคเคน หรือ โคคาอีนเป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ลักลอบปลูกมากในประเทศแถบ
อเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น ในใบโคคาจะมีโคเคนอยู่ประมาณ 2% โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่ม
ผู้เสพว่า COKE, Snow, Speed Ball, Crack

โคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่ 
1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น
2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack) 

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
โคเคนออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ มีอาการทาง
จิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย ตัวร้อนมีไข้ 
นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า ผนังจมูกขาดเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง
ทำให้เกิดอาการชักมีเลือดออกในสมอง เนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้นอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลง
ทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหวทำให้หัวใจล้มเหลว ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการโรคจิตซึมเศร้า 

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ฝิ่น (Opium) : 
ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน 
เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษ
ที่ร้ายแรง และเป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่น
มากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมทองคำ" 

ฤทธิ์ในทางเสพ :
ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย หากเสพเกินขนาด
จะทำให้กดระบบหายใจทำให้เสียชีวิต จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว 
ชีพจรเต้นช้า 

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

มอร์ฟีน (Morphine) : 
มอร์ฟีนเป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นตัวการที่ออกฤทธิ์กดประสาท มอร์ฟีนเป็นผงสีขาว
หรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลาย
บรรจุหลอดสำหรับฉีด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเป็นส่วนมาก มอร์ฟีนใช้เป็นยาหลักหรือยามาตรฐานของยาแก้ปวด
ยาจำพวกนี้กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้รู้สึกง่วงหลับไป และลดการทำงานของร่างกาย 
อาการข้างเคียงอื่น ๆ ก็คือ อาจทำให้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดงเพราะโลหิตฉีด ม่านตาดำ
หดตีบ และหายใจลำบาก 

ฤทธิ์ทางเสพติด :
มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย คลื่นเหียนอาเจียน 
ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดง ซึม ง่วงนอน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ร่างการทรุดโทรม สมองมึนชา สติปัญญาเสื่อมโทรม 

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

Codeine (Antitussive) 
ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาโคเดอีนเป็นสารประกอบจำพวกอัลคาลอยด์ที่มีอยู่ในฝิ่นประมาณร้อยละ 0.7-2.5 
โดยน้ำหนัก โคเดอีนที่ใช้ในทางการแพทย์ได้จากการสังเคราะห์จากมอร์ฟีนโคเดอีน ออกฤทธิ์กดระบบประสาท
ส่วนกลาง มีฤทธิ์ระงับปวดและระงับอาการไอ จึงนิยมใช้ผลิตยาแก้ไอ แต่ ยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่มีการนำไปใช้ในทาง
ที่ผิด และแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันได้แก่ยาแก้ไอผสมโคเดอีนชนิดน้ำ

กัญชา (Cannabis) : 
กัญชา มีลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยัก
อยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ
และยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่
สูบ ยังอาจพบในรูปของ “น้ำมันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้ง จึงได้เป็นนำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิต
ประสาทสูงถึง 20-60% หรืออาจพบในลักษณะของ “ยางกัญชา” (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและ
ยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประมาณ 
4-8% กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้นประสาท
กดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้
้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ
THC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้
ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ 
เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิด
สับสน ควบคุมตนเองไม่ได้ 

ฤทธิ์ทางเสพติด:
อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลง ความคิดเลื่อนลอยสับสน ความคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อม
กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว หลายคนคิดว่าการเสพกัญชานั้น ไม่มีโทษภัยร้ายแรงมากนัก แต่จากการศึกษา
วิจัย พบว่า กัญชาเป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมากเกินกว่าที่คาดคิด เช่น ทำลาย
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายสมอง ปอด

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

กระท่อม (Kratom) : 
กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็ง
ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ
ก้านเขียวและก้านแดง

ฤทธิ์ในทางเสพ :
ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติด
ทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้
ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก แต่จะรู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝนฟ้า
คะนอง ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน 

โทษทางกฎหมาย :
กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

เห็ดขี้ควาย (Magic Mushroom) : 
เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีด คล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่ม
จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำบริเวณก้าน (Stalk) บริเวณใกล้ตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออก
รอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน 

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ในเห็ดขี้ควายมีสารออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงคือ ไซโลซีน และ ไซโลไซบีน ผสมอยู่ ซึ่งออกฤทธิ์
หลอนประสาท เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด หากบริโภคเข้าไปมากๆ
หรือผู้ที่บริโภคเข้าไปมีภูมิต้านทานน้อย อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

โทษทางกฎหมาย : 
เห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522จี เอช บี (GHB) : 
GHB หรือ Gamma-hydrocybutyrate จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 1 
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 

ฤทธิ์ทางเสพติด :
การออกฤทธิ์ของ GHB จะกดประสาทในระยะแรก คือลดอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ และทำให้สลบ
(ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ใช้) ถ้าใช้ในปริมาณมากหรือใช้ร่วมกับยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ชนิดอื่นๆ อาจทำให้
้เสียชีวิตได้ 

โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 
พ.ศ. 2518

ยาเค (ketamine) 
ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (ketamine) หรือชื่อทางการค้าว่า เคตาวา (Ketava) หรือเคตาลา (Ketalar) 
หรือคาสิบโชล ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ใน
ประเภท 2 หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหา เพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผง
ด้วยกรรมวิธีผ่านความร้อน จากนั้นจึงนำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเค มาใช้
้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคน ยาเค เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสานอย่างรุนแรง เมื่อเสพ
เข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ (Mystical) มีอาการสูญเสียกระบวนการ
ทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียงจะเปลี่ยนแปลงไป 
ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดการติดขัดในการหายใจ (Respiratory
depression) อาการที่ไม่พึ่งประสงค์เหล่านั้น (Bad Trip) จะปรากฏให้เห็นคล้ายกับอาการทางจิต 
ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะปรากฏอาการเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ เรียกว่า Flashback ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว 
จะทำให้ผู้เสพประสพกับสภาวะโรคจิต และกลายเป็นคนวิกลจริตได้ 

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ยาเคออกฤทธิ์หลอนประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิบเคลิ้ม มึนงง ความคิดสับสน ตาลาย หูแว่ว การรับรู้และ
การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน ผลต่ออารมณ์
มีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนงง หรือที่เรียกว่าอาการ "Dissociation" ผลต่อการรับรู้จะเปลี่ยนแปลง การรับรู้
ู้ทั้งหมดในขณะเสพ ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียง ผลต่อร่างกายและระบบประสาท
เมื่อใช้ยาเคในปริมาณมาก ๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการติดขัดในการหายใจเท่านั้น ยังทำให้เกิดอาการ
ทางจิต ประสาทหลอน หูแว่ว กลายเป็นคนวิกลจริตได้
เพนโตบาร์บิตาล : 
เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 มีลักษณะเป็นเม็ดยา ส่วนใหญ่พบในรูปของเม็ดแคปซูล ออกฤทธิ์กล่อมประสาท
แต่แรงกว่า (ลักษณะเหมือนยานอนหลับ) เมื่อใช้จะทำให้รู้สึกคลายความวิตกกังวล รักษาอาการฟุ้งซ่านที่เกิด
จากโรคประสาท ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และระงับอาการชัก ถ้าใช้ประจำจะมีอาการติดยาเกิดขึ้น และถ้าขาดยา
จะเกิดอาการถอนยา คือมีอาการกระวนกระวาย เกร็ง อาจชักได้ 

โทษทางกฎหมาย 
จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518

ไดอาซีแพม (Diazepam) : 
ไดอาซีแพม เป็นชื่อสามัญทางยาของวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดหนึ่งในกลุ่มเบนโซไดอะซีปินส์
ไดอาซีแพมที่มีใช้ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบทางเภสัชกรรมต่างๆ ได้แก่ ยาเม็ด แคปซูล และยาฉีด
ขนาดความแรงมีตั้งแต่ 2 มิลลิกรัม 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม 

โทษทางกฎหมาย : 
ไดอาซีแพมจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518

สารระเหย (Inhalant) :
สารระเหย คือ สารที่ได้จากขบวนการสกัดน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอ ระเหยได้ในอากาศ ประกอบด้วย
Toluene, Acetone, Butane, Benzen, Trichloroe Thylene ซึ่งพบในกาว แลคเกอร์ ทินเนอร์ 
น้ำมันเบนซิน ยาล้างเล็บ เมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย 

ฤทธิ์ในทางเสพติด :
สารระเหยออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ มีอาการ
ขาดยาแต่ไม่รุนแรง ผู้เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ศีรษะเบาหวิว ตื่นเต้น พูดจาอ้อแอ้ พูดไม่ชัด น้ำลายไหลออก
มามาก เนื่องจากสารที่สูดดมเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก การสูดดมลึก ๆ หรือ
ซ้ำ ๆ กัน แม้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้ขาดสติหรือเป็นลมชัก กล้ามเนื้อทำงาน
ไม่ประสานกัน ระบบประสาทอัตโนมัติ (Reflexes) ถูกกด มีเลือดออกทางจมูก หายใจไม่สะดวก 

โทษทางกฎหมาย :
สารระเหยจัดเป็นสารเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533

เอทิล อีเทอร์ (Ethyl Ether) 
ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน แสบจมูก และมีกลิ่นฉุน ไอของสารอีเทอร์หนักกว่า
อากาศ ไม่ละลายน้ำ เมื่อหยดลงในน้ำจะแยกชั้นลอยอยู่บนผิวน้ำ ใช้เป็นตัวทำละลายในกระบวนการลักลอบผลิต
เฮโรอีน และโคเคน โดยเปลี่ยนจากรูปของเบสเป็นเกลือไฮโดรคลอไรด์ 

ฤทธิ์ทางเสพติด :
ไอของสารอาจทำให้เกิดอาการเซื่องซึม มึนงง เกิดความสับสน เป็นลม และในปริมาณมากๆ จะทำให้หมดสติได้ 
ถ้าสูดดมเข้าไปอย่างต่อเนื่องในปริมาณน้อยอาจทำให้ไม่อยากอาหาร เวียนศรีษะ หมดเรี่ยวแรง และเกิดอาการ
คลื่นไส้ ถ้าสูดดมเข้าไป หรือกลืนกินเข้าไปบ่อยๆ อาจทำให้เสพติด และมีอาการเสพติดเรื้อรังได้ ถ้าสัมผัสเข้ากับ
ตัวออกซิไดซ์อาจทำให้เกิดการลุกไหม้ทันทีขึ้นได้ ไอของสารเมื่อผสมหรือรวมตัวกับออกซิเจน ไนตรัสออกไซด์
(nitrous oxide) หรืออากาศ อาจเกิดระเบิดได้

กรดแอซิติก (Acetic acid) :
(ซึ่งมีความบริสุทธิ์ไม่เกินร้อยละ 90) เป็นวัตถุอันตราย มีสถานะเป็นของเหลว มีกลิ่นฉุน (หากมีปริมาณความ
บริสุทธิ์ตั้งแต่ร้อยละ 90 จัดเป็นโภคภัณฑ์ควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495)
อันตรายต่อสุขภาพ :
เมื่อหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการไอและหายใจติดขัด การสัมผัส
ทางผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงบวมของผิวหนังและปอด การกลืนหรือ
กินเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง และอาเจียน การสัมผัสถูกตาอาจจะก่อให้เกิดอาการตาแดงและปวดตาได้

แนวคิด
1. ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษ ออกเป็น 5 ประเภท ยาเสพติดให้โทษกฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์อันผิดกฎหมายผู้ใดมีไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องได้รับโทษ
2. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษฐานที่มีความผิดสูงสุด คือ ฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 คือ เฮโรอีนเพื่อจำหน่าย
ในภาวะสังคมปัจจุบันนี้ สิ่งที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสภาพสังคมอย่างหนึ่งคือ ยาเสพติด บรรดายาเสพติดทั้งหลายล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั้งสิ้น หากประเทศใดมีพลเมืองที่ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะผู้ที่ติดยาเสพติดจะเป็นบุคคลที่เสื่อมทั้งสติปัญญา และความสามารถที่จะกระทำกิจการงานใดๆ นอกจากไม่สามารถประกอบอาชีพของตนให้ก้าวหน้าแล้ว ยังเป็นภาระและเป็นปัญหาของสังคมตลอดจนประเทศชาติด้วย
ขณะนี้นักเรียนเป็นเยาวชนของชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในด้านต่างๆ ในอนาคต กำลังอยู่ในวัยที่อยากทดลองสิ่งแปลกใหม่ๆ เมื่อมีผู้ชักชวนให้เสพยาติดก็อาจจะทดลองโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอาจติดยาเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว จึงควรที่จะได้รู้ถึงอันตรายอันเกิดจากยาเสพติดไว้บ้าง
1. อันตรายของยาเสพติดให้โทษ
1.1 ทำลายสุขภาพ ยาเสพติดส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงทำให้สุขภาพทรุดโทรม ร่างกายซูบผอม น้ำหนักลดอ่อนเพลียไม่มีแรงในการทำงาน เกียจคร้าน เฉื่อยชา ถ้าเป็นนักเรียน ก็ไม่อยากเรียนหนังสือ เบื่อหน่ายในการเรียน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่เชื่อถือหรือไม่ไว้วางใจในการที่จะทำงานร่วมด้วย
1.2 ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง ทำให้สมองมึนชา มึนงง ขาดความว่องไวในการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถ้าผู้ติดยาเสพติดขับขี่พาหนะ นอกจากจะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วย 
1.3 เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เพราะมีความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ติดยาเสพติดก็เป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ทำให้โรคนี้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
1.4 จิตใจไม่ปกติ ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีอาการอยากยา อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งเชื่องซึมบางครั้งคลุ้มครั่ง กระวนกระวาย เป็นหาทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมได้ง่าย เนื่องจากต้องการเงินมาใช้ในการซื้อยามาเสพ
นอกจากยาเสพติดที่เป็นอันตรายแล้ว ยังมีสิ่งเสพติดที่แพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างมากในปัจจุบันนี้ คือ น้ำมันระเหยหอม ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในด้านการอุตสาหกรรม แต่ถ้าสารระเหยหมอเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม โดยจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สารเหล่านี้ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันแลคเกอร์ น้ำมันก๊าด กาวชนิดต่างๆ ยาทาเล็บ น้ำยาซักแห้ง น้ำมันขัดเงา ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการเมาคล้ายคนเมาสุรา วิงเวียน ภาพหลอน ประสาทหลอน ถ้าสูดดมเกิดขนาดอาจหมดสติถึงตายได้ เนื่องจากฤทธิ์ของน้ำระเหยหมอจะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองทำให้หยุดหายใจ
เมื่อนักเรียนรู้ว่า ยาเสพติดและสิ่งเสพติดประเภทน้ำมันระเหยหอมเป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะทดลองและรู้จักปฏิเสธ เมื่อถูกผู้อื่นชักชวนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเองแล้วยังมีผลเสียต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่2. ความหมายของยาเสพติดให้โทษ 
ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษผสมอยู่

3. ลักษณะของยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ฯลฯ
3.1 ฝิ่น เป็นยาเสพติดที่แพร่หลายก่อนที่ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ฝิ่นสกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ เมื่อเคี่ยวสุกจะมีสีดำรสขมมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัว
3.2 มอร์ฟีน เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นประมาณ 10 เท่า สกัดได้จากฝิ่นมักทำเป็นผงสีขาวหรือเท่า ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำได้ง่าย
3.3 เฮโรอีน เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงที่สุด และเป็นพิษเป็นภัยแพร่หลายระบาดมากที่สุดในปัจจุบัน มีฤทธิ์และโทษรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ 100 เท่า รุนแรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่าเฮโรอีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ชนิด
1) เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวไม่มีกลิ่น รสขมจัด
2) เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีเบอร์ 3 หรือไประเหย โดยจะผสมสารอื่นปนไปด้วย มีลักษณะเป็นเกล็ด มีสีต่างๆ เช่น ม่วง แดง ส้ม เทา น้ำตาล เป็นต้น
3.4 กัญชา เป็นพืชล้มลุก มีสารที่ทำให้เสพติด คือ ยางเรซินของดอกกัญชา และยางที่ออกจากใบของต้นกัญชาตัวเมีย กัญชามีฤทธิ์กระตุ้นทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ความนึกคิดสับสน ประสาทมึนงง ถ้าเสพนานเข้าอาจกลายเป็นโรคจิตได้
3.5 กระท่อม สารที่ทำให้เสพติดมีอยู่ในใบของกระท่อม มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน ประสาทมึนชา ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยาเสพติดให้โทษ ซึ่งนำมาเป็นเพียงตัวอย่างให้นักเรียนได้รับความรู้แต่เพียงย่อๆ



4. ประเทของยาเสพติดให้โทษ
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท คือ
1. ประเภทที่ 1 เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
2. ประเภทที่ 2 เป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่นยา โคคาอีน โคเคอีน
3. ประเภทที่ 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติด ประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาเม็ดตกเบ็ด ซึ่งมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนชนิดเข้มข้นเป็น ส่วนผสม ยาแก้ไอน้ำเชื่อมมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเป็นส่วนผสม ฯลฯ
4. ประเภทที่ 4 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 – 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
5. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้เป็น 5 ฐาน
1. ฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
2. ฐานจำหน่าย หรือมีไว้ในความคอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ
3. ฐานมีไว้ในความคอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
4. ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ
5. ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ
เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอยู่เสมอ และมีบางคนถูกชักจูงให้ร่วมกระทำความผิดโดยความไม่รู้ และเมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้จะถูกดำเนินคดี ในที่สุดก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย จึงขอยกตัวอย่างความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่พบเสมอและน่าสนใจดังนี้
กรณีตัวอย่างความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
1. ผู้ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่น เฮโรอีน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
2. ถ้าผู้ใดบังอาจผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่ายแล้ว กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนักถึงประหารชีวิต
3. ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
กรณีตัวอย่างความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครอง
1. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น เฮโรอีนไว้ในความครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
2. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในคอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน นั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท
3. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา)ไว้ในความครอบครองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
กรณีตัวอย่างความผิดฐานเสพติดให้โทษ
1. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เฮโรอีน) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
2. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
กรณีตัวอย่างความผิดในฐานต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั้น จะได้รับโทษสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับฐานความผิดและประเภทของยาเสพติด เช่น โทษฐานจำหน่ายย่อมสูงกว่าโทษเสพหรือมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ประเภทเฮโรอีน ก็ย่อมได้รับโทษสูงกว่ามีกัญชาไว้ในครอบครอง เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญ
1. ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย
2. ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน 
3. ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุดคือ เฮโรอีน
4. ผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่าย กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนัก คือ ประหารชีวิต
Credit :http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-Habit.htm

ด้วยเหตุที่ปัจจุบันมียาเสพติดหลายประเภท ได้แพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย มีทั้งประเภทที่ผลิตไว้เองในประเทศ และที่ลักลอบเข้ามาตามชายแดน จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดประเภทของยาเสพติดให้ครอบคลุม เพื่อที่อำนาจแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายฉบับนี้ได้ควบคุมการใช้ยาเสพติดให้โทษ โดยกำหนดความผิดและโทษสำหรับยาเสพให้โทษประเภทต่าง ๆ และใหคำจำกัดความว่า ยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษ หมายความถึง 
1. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง 
2. พืชหรือส่วนของพืช ที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ 
3. สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ 
ประเภทและชื่อยาเสพติดให้โทษ 
ประเภท1ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน (HEROIN), แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE), เมทแอมเฟตามีน (METHAMPHETAMINE), แอลเอสดี (LSD), เอคส์ตาซี (ECSTASY) หรือ MDMA เป็นต้น 
ประเภท2ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (OPIUM), มอร์ฟีน (MORPHINE), โคคาอีนหรือโคเคน (COCAINE), โคเดอีน (CODEINE), เมทาโดน (METHADONE) เป็นต้น 
ประเภท3ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย เช่น COSOME, ILVICO SYRUP, ยาแก้ไอโคดิล (CODYL COUGH LINCTUS) 
ประเภท4สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดในโทษประเภท 1 หรือประเภท 2 ได้แก่ อาเซติคแอนไฮไดรด์ (ACETICANHYDRIDE), อาเซติลคลอไรด์ (ACETYL CHLORIDE), เอทิลิดีนไดอาเซเตด (ETHYLIDINEDIACETATE), ไลเซอร์จิค อาซิค (LYSERGIC ACID) 
ประเภท5ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้ามาอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 ได้แก่ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น) และพืชเห็ดขี้ควาย 

1 บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1


ความผิด บทกำหนดโทษ มาตรา

• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 จำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาท ถึงห้าล้านบาท มาตรา 65 วรรค 1
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต มาตรา 65 วรรค 2
• ผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณยาเสพติดไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1 จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - 15 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 80,000 - 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 65 วรรค 3
• ผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณยาเสพติดไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1 เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - ตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 400,000 - 5,000,000 บาท มาตรา 65 วรรค 4
• จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมีปริมาณยาเสพติดไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1 จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - 15 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 80,000 - 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 66 วรรค 1
• จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 
ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1 แต่
- ไม่เกิน 20 กรัม จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - ตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 400,000 - 5,000,000 บาท มาตรา 66 วรรค 2
- เกิน 20 กรัมขึ้นไป จำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งล้าน - ห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต มาตรา 66 วรรค 3
• ครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีปริมาณยาเสพติด ไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1 จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 67
• ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 10,000 - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 91
• ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี
หรือ ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 93/1 วรรค 1
• ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขืนใจ ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้
สำหรับความผิดนั้น มาตรา 93/2

1.1 การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณ
ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย (ตามมาตรา 15 วรรค 3)


ชื่อยาเสพติดให้โทษ มีปริมาณคำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่ 
จำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่
1. เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี 0.75 มก.ขึ้นไป 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป 300 มก.ขึ้นไป
2. แอมเฟตามีน หรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน 375 มก.ขึ้นไป 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป 1.5 กรัม ขึ้นไป
3. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นอกจาก (1) และ (2) 3 กรัม ขึ้นไป - -

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
ความผิด บทกำหนดโทษ มาตรา
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 16 จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท มาตรา 68 วรรค 1
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จำคุกตั้งแต่ 20 ปี - ตลอดชีวิต 
และปรับตั้งแต่ 2,000,000 - 5,000,000 บาท มาตรา 68 วรรค 2
• ครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 69 วรรค 1
• จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 69 วรรค 2
• จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 3 ปี - 20 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 60,000 - 400,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 69 วรรค 3
• จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 100 กรัมขึ้นไป จำคุกตั้งแต่ 5 ปี - ตลอดชีวิต 
และปรับตั้งแต่ 500,000 - 5,000,000 บาท มาตรา 69 วรรค 3
• ผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ตามมาตรา 17 กระทำการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 100,000 บาท มาตรา 69 วรรค 4
• ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 58 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 10,000 - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 91
• ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ให้ผู้อื่นเสพ จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท มาตรา 93
• ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุกตั้งแต่ 1ปี - 5 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 93/1 วรรค 1

ยาเสพติดให้โทษประเภท 3
ความผิด บทกำหนดโทษ มาตรา
• ผลิต หรือนำเข้า โดยมิได้รับอนุญาต 
อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 3 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 300,000 บาท มาตรา 70
• จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออก โดยมิได้รับอนุญาต โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษ ไม่เกินที่กำหนดตาม มาตรา 20 วรรค 4 จำคุกไม่เกิน 1 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 71 วรรค 1
• จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออก โดยมิได้รับอนุญาต โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษ เกินจำนวนตามมาตรา 20 วรรค 4 จำคุกไม่เกิน 2 ปี 
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท มาตรา 71 วรรค 2
• นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 22 
(ผู้รับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้ง ที่มีการนำเข้า หรือส่งออก) จำคุกไม่เกิน 1 ปี 
และปรับไม่เกิน 100,000 บาท มาตรา 72
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(1) จำคุกตั้งแต่ 3 ปี - 20 ปี 
และปรับตั้งแต่ 300,000 - 2,000,000 บาท มาตรา 82
• จำหน่ายซึ่งยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(1) จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท มาตรา 83
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(2) หรือ (3) จำคุกไม่เกิน 3 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 84
• จำหน่ายซึ่งยาผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(2) หรือ (3) จำคุกไม่เกิน 1 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 85
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(4) หรือ (5) จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท มาตรา 86
• จำหน่ายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(4) หรือ (5) จำคุกไม่เกิน 3 ปี 
และปรับไม่เกิน 300,000 บาท มาตรา 87
• ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ตามมาตรา 20 ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน มาตรา 52

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
ความผิด บทกำหนดโทษ มาตรา
• ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท มาตรา 73 วรรค 1
• ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย 
ตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,500,000 บาท มาตรา 73 วรรค 2
• ครอบครอง จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 74ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
ความผิด บทกำหนดโทษ มาตรา
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 จำคุกตั้งแต่ 2 ปี - 15 ปี 
และปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,500,000 บาท มาตรา 75 วรรค 1
• ผลิต นำเข้า หรือส่งออกพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 2 ปี 
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท มาตรา 75 วรรค 2
• ครอบครอง จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 76 วรรค 1
• ครอบครองพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 76 วรรค 2
• จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมีจำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำคุกตั้งแต่ 2 ปี - 10 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 40,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 76/1 วรรค 1
• จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมีจำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป จำคุกตั้งแต่ 2 ปี - 15 ปี 
และปรับตั้งแต่ 200,000 -1,500,000 บาท มาตรา 76/1 วรรค 2
• จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายพืชกระท่อม โดยมีจำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 76/1 วรรค 3
• จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายพืชกระท่อม โดยมีจำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป จำคุกไม่เกิน 2 ปี 
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท มาตรา 76/1 วรรค 4
• ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 92 วรรค 1
• ผู้ใดเสพพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 1 เดือน 
หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท มาตรา 92 วรรค 2
• ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 93/1 วรรค 2

บทกำหนดโทษนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหนังสือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 

กองควบคุมวัตถุเสพติด โทร 0 2590 7346
Credit :http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/addict/lawtable1.html

พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 สารระเหย คือ สารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสารระเหย เช่น ทินเนอร์ แลคเคอร์ กาวอินทรีย์ธรรมชาติ อาซีโทน โทลูอีน เป็นต้น 



ความผิดและอัตราโทษ 
ฐานความผิด อัตราโทษ
- ผู้ผลิต นำเข้าหรือขาย ไม่จัดให้มีภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อที่บรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือน ให้ระวังการใช้สารระเหย (ม.12, ม.13, ม.14) 
- จัดหาหรือให้สารระเหยแก่ผู้ซึ่งตนควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย (ม.16) 
- ใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูด ดม หรือวิธีอื่นใด (ม.17) 
- จูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบาย หลอกลวง ให้ผู้อื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ (ม.18) - จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.22 หรือ ม.24) 
- ขายแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี ยกเว้นการขายโดยสถานศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.23) 

ข้อควรจำ 
1. ผู้กระทำความผิด โดยใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่างกาย หรือจิตใจ ซึ่งมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลจะกล่าวตักเตือน หรือสั่งให้ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาล (ม.17, ม.26) 
2. ผู้กระทำความผิดตาม 1 เป็นผู้ที่มีอายุเกินสิบเจ็ดปี ศาลจะสั่งให้ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลก็ได้ ในกรณีนี้ ให้นับระยะเวลาที่บำบัดรักษา เป็นระยะเวลาจำคุก หรือกักขังแทนค่าปรับ (ม.28) 
3. ผู้กระทำความผิดตาม 2 หลบหนีจากสถานพยาบาล จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.29) 
4. ผู้กระทำความผิดตาม 2 กระทำความผิดนั้นอีกภายในหนึ่งปี หลังจากการบำบัดรักษาจนหายแล้ว ให้ศาลเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง สำหรับความผิดครั้งหลัง 

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เป็นสิ่งธรรมชาติ หรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

ประเภทและชื่อของวัตถุออกฤทธิ์ 

ประเภท 1 เช่น ดีอีที (DET), เมสคาลีน (MESCALINE), คาทิโนน (CATHINONE) เป็นต้น 
ประเภท 2 เช่น แอมฟิพราโมน (AMFEPRAMONE), อีเฟดรีน (EPHEDRINE), ฟลูราซีแพม (FLURAZEPAM), เพโมลีน (PEMOLINE), ซูโดอีเฟดรีน (PSEUDOEPHEDRINE) เป็นต้น 
ประเภท 3 เช่น อะโมบาร์บิตาล (AMOBARBITAL), ไซโคบาร์บิตาล (CYCLOBARBITAL) เป็นต้น 
ประเภท 4 เช่น บาร์บิตาล (BARBITAL), ไดอาซีแพม (DIAZEPAM), ลอราซีแพม (LORAZEPAM) เป็นต้น

ความผิดและอัตราโทษ 
ฐานความผิด วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2
ผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย - จำคุกห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท (ม.89) (รวมถึงกรณีครอบครอง หรือใช้ประโยชน์เกิน 0.5 กรัม) 
ครอบครองหรือ ใช้ประโยชน์ - ปริมาณไม่เกิน 0.5 กรัม จำคุกหนึ่งถึงห้าปี และปรับสองหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท (ม.106) 
เสพ - จำคุกหนึ่งปีถึงห้าปี และปรับสองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ม.106 ตรี) 
ฐานความผิด วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4
ส่งออก - จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (ม.90) 
ฐานความผิด วัตถุออกฤทธิ์ 
ประเภท 1 วัตถุออกฤทธิ์ 
ประเภท 2 วัตถุออกฤทธิ์ 
ประเภท 3 วัตถุออกฤทธิ์ 
ประเภท 4
ผลิต นำเข้า - วัตถุออกฤทธิ์ปลอม จำคุกห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับหนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท (ม.98) 
- วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน หรือที่ถูกสั่งเพิกถอน จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับสองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท (ม.99) 
- วัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียน จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.101) 
นำเข้า ขาย - วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำโดยไม่รู้ ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท (ม.100) 
ขาย - วัตถุออกฤทธิ์ปลอม จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับสองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากกระทำโดยไม่รู้ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.98) 
- วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน หรือที่ถูกสั่งเพิกถอน จำคุกหกเดือนถึงห้าปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท หากกระทำโดยไม่รู้ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.99) 
- ที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียน จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.101) 
นำผ่าน - จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (ม.90) 
ยุยงส่งเสริม หลอกลวง หรือขู่เข็ญ ให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกสองปีถึงสิบปี และปรับสี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากกระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจ ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น ในการกระทำความผิดทางอาญา จำคุกสามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับหกหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท (ม. 106 จัตวา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น